วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

อัตราค่าเข้าชม


  •  
  • ค่าเข้าชมสำหรับบุคคลทั่วไป (คนไทย)
  •  
  • บัตรสยามพลัส (คนไทย) ***
  • เลือกเที่ยวชมโดยรถรางหรือเที่ยวชมโดยจักรยาน (ตั้งแต่เวลา 8.00 - 17.00 น.)
  • บัตรสยามพลัสผู้ใหญ่ ท่านละ ๒๕๐ บาท
  • บัตรสยามพลัสเด็ก ท่านละ ๑๒๕ บาท
  •  
  • บัตร ๖๐ ปี
  • สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน ๖๐ ปี โปรดแสดงบัตรประชาชน
  • (เหลือท่านละ ๑๒๕ บาท)
  •  
  • บัตรคนปากน้ำ
  • แสดงบัตรประชาชนสมุทรปราการลดทันที
  • (เหลือท่านละ ๑๒๕ บาท)
  •  
  • ค่าเข้าชมสำหรับบุคคลทั่วไป (ชาวต่างประเทศ ) 
  • ผู้ใหญ่ ท่านละ ๔๐๐ บาท
  • เด็ก ท่านละ ๒๐๐ บาท
  •  
  • บริการมัคคุเทศก์นำชมส่วนตัว
  • บรรยายภาษาไทย +๑,๒๐๐ บาท (๒ ชม.)
  • บรรยายภาษาอังกฤษ +๑,๕๐๐ บาท (๒ ชม.)
  •  
  • นำรถยนต์ส่วนบุคคล/รถตู้ เข้าไป (ไม่รวมคนขับ)
  • คันละ ๓๐๐ บาท 
  •  
  • **บริการพิเศษสำหรับผู้ที่มาเป็นหมู่คณะ
  • รถรางเหมาคันละ ๖,๐๐๐ บาท สำหรับ ๓๒ ท่าน ต่อคัน
  • ในกรณีที่ต้องการมัคคุเทศก์บรรยายภาษาไทย บนรถรางมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ๕๐๐ บาท / มัคคุเทศก์ ๑ ท่าน
  •  
  • รถรางบรรยายภาษาอังกฤษ
  • รถรางเหมาคันละ ๑๒,๐๐๐ บาท สำหรับ ๓๒ ท่าน ต่อคัน
  • ในกรณีที่ต้องการมัคคุเทศก์บรรยายภาษาอังกฤษบนรถรางมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ๑,๕๐๐ บาท / มัคคุเทศก์ ๑ ท่าน
  •   
  •  
  • ***หมายเหตุ
  •  
  •                   บัตรสยามพลัส +
  •                สามารถใช้บริการได้ดังนี้
  •  
  • + จักรยาน   บัตร 1 ใบ สำหรับ 1 ท่าน
  • + รถรางชมเมือง (พร้อมรถกอล์ฟรับ-ส่ง จากหน้าเมืองถึงตลาดน้ำ)
  • เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ - วันเสาร์ ตามรอบที่กำหนดดังนี้
  •  
  •                        รอบที่ 1   08.00 - 10.00 น.
  •                        รอบที่ 2   10.00 - 12.00 น.
  •                        รอบที่ 3   13.00 - 15.00 น.
  •                        รอบที่ 4   15.00 - 17.00 น.
  •  
  • + รถรางสายรอบเมือง
  • เปิดให้บริการทุกวันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
  •                        ตั้งแต่เวลา 8.00 - 17.00 น.
  • สามารถขึ้นได้ทุกคันตามสถานีรถรางรอบเมือง ภายในเมืองโบราณ
  •  
  • หมายเหตุ สามารถขึ้นรถรางชมเมืองได้ที่ตลาดน้ำ(ร้านริมน้ำ)
  • ตามรอบและเวลาที่กำหนด ไม่สามารถขึ้นระหว่างทางได้
  • หากตารางเวลาการเข้าชมมีการเปลี่ยนแปลง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบก่อนเข้าชม
  •  
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
  • โทรศัพท์ ๐-๒๗๐๙-๑๖๔๔-๕,๐-๒๗๐๙-๑๖๔๘

การเดินทาง




     เส้นทางไปเมืองโบราณ สมุทรปราการ

  1.  รถยนต์ส่วนตัว :
    ใช้เส้นทางด่วน ปลายทางที่สำโรง-สมุทรปราการ ถึงสามแยกสมุทรปราการ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท (ไปทางบางปู) ประมาณ กม. 33 เมืองโบราณจะอยู่ทางซ้ายมือ
  2. รถโดยสารสาธารณะ :
    ใช้รถโดยสารปรับอากาศ สาย ปอ. 511 (สายใต้ใหม่-ปากน้ำ) ลงที่สุดทางแล้วต่อรถสองแถวสาย 36 ซึ่งจะวิ่งผ่านหน้าทางเข้าเมืองโบราณ
 เส้นทางไปเมืองโบราณ สมุทรปราการ

  1. รถยนต์ส่วนตัว :
    ใช้เส้นทางด่วน ปลายทางที่สำโรง-สมุทรปราการ ถึงสามแยกสมุทรปราการ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท (ไปทางบางปู) ประมาณ กม. 33 เมืองโบราณจะอยู่ทางซ้ายมือ
  2. รถโดยสารสาธารณะ :
    ใช้รถโดยสารปรับอากาศ สาย ปอ. 511 (สายใต้ใหม่-ปากน้ำ) ลงที่สุดทางแล้วต่อรถสองแถวสาย 36 ซึ่งจะวิ่งผ่านหน้าทางเข้าเมืองโบราณ

ประวัติเมืองโบราณ



���  �����оѹ�����оѲ�ҡ�âͧ���ͧ��ҳ

“วัฒนธรรมไทยได้จำเริญอยู่คู่เคียงกับไทยโบราณมาอย่างสืบเนื่อง และหากสามารถรักษาไว้สืบไป ด้วยภูมิปัญญา และความเข้าใจอันถ่องแท้แล้ว ก็จะทำให้ปัจจุบัน และอนาคตของ เรากอปรด้วย ความหมาย ที่ทรงคุณค่า มิเสื่อมคลาย
คำถามมีอยู่ว่า เหตุใดวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งใหญ่ไพศาลนี้ ถึงเสื่อมถอยลงได้เล่า?
ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะคนทั้งหลายไม่ใส่ใจ พากันมองข้ามไปเสีย หรือว่าอาจยังมีเหตุอื่นที่สำคัญกว่า เคลือบแฝงอยู่อีก?
เมื่อได้ใช้ความคิดทบทวนไปมานานครั้งเข้าจึงเห็นว่า การที่วัฒนธรรมไทยต้องเสื่อมโทรมอับเฉา ลงทุกทีๆ นั้น ก็ด้วยเหตุที่มิได้มีผู้ใดนำเอายอดแห่งแก่นสาร ของวัฒนธรรมไทย ไปเผยแพร่ในหมู่ชน อย่างกว้างขวาง และถูกต้องบริบูรณ์ด้วยการใช้รูปแบบง่ายๆ เข้าใจไม่ยาก โดยให้ประสานสอดคล้อง กับสิ่งแวดล้อม และชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันสมัย
ดังนั้นเมื่อคนทั้งหลายไม่มีโอกาสที่จะรับรู้ และเข้าใจวัฒนธรรมแห่งชาติ ของตนเองที่มีสืบต่อ กันมานั้นแล้ว จะให้เขาเหล่านั้นชื่นชอบและยอมรับได้อย่างไร?
เมื่อเราตระหนักเช่นนี้ จึงเห็นว่าต้องลงมือทำเลย
ด้วยเหตุนี้ เราผู้ยึดถือวัฒนธรรมเป็นภารกิจ ย่อมต้องลงแรงส่งเสริมกิจกรรมด้านนี้อย่างสุดกำลัง”
เล็ก วิริยะพันธุ์
รุ่งอรุณแห่งความคิด
เล็ก วิริยะพันธุ์ เกิดเมื่อปี พศ.๒๔๕๗ ในครอบครัวนักธุรกิจชาวจีน ย่านสำเพ็ง เมื่อสำเร็จการศึกษา ขั้นพื้นฐานบิดาได้ส่งไปศึกษาต่อ ขั้นอุดมศึกษาที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ช่วงนี้เองคุณเล็ก มีโอกาสเที่ยวศึกษาไปยังแหล่งศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้สั่งสมความรู้ด้านศิลปะ ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก จนเมื่อบิดาป่วยหนัก จึงได้กลับมาสานต่อ ธุรกิจของครอบครัว และจากการติดต่อ ค้าขายทางธุรกิจ ได้ชักนำให้คุณเล็ก พบคุณประไพ วิริยะพานิช ผู้ซึ่งได้กลายมาเป็นคู่ชีวิต ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเป็นคู่คิด และแรงใจในการทำงาน จนคุณเล็กประสบความสำเร็จอย่างสูง ในแวดวงธุรกิจในระยะต่อมา ส่วนจุดเริ่มต้นความสนใจ ด้านศิลปะของคุณเล็กนั้น เริ่มจากการอ่าน และสะสมของเก่าตั้งแต่ช่วงยังเป็นนักธุรกิจเต็มตัว ยิ่งอ่าน ยิ่งศึกษา ยิ่งเกิดความหวงแหนในศิลปะ ของชาติ กอปรกับความสนใจในเรื่องปรัชญาศิลป วิทยาการเป็นพื้นฐาน ทำให้คุณเล็กเกิดแรงผลักดัน ที่จะคิดทำเมืองโบราณขึ้นมา โดยความตั้งใจแรกเพียงต้องการ ใช้ประโยชน์จากที่ดินขนาดใหญ่ สร้างเป็นสนามกอล์ฟที่มีขอบเขตตามรูปร่างแผนที่ประเทศไทย โดยจัดให้มีการจำลองโบราณสถาน สำคัญตามจุดต่าง ๆ ในพื้นที่ ให้คนได้เที่ยว ได้เห็น ได้รู้จักเท่านั้น
เรียนรู้จากอดีต
วิธีการสร้างเมืองโบราณของคุณเล็กนั้น มิใช่เป็นเพียงการไปจ้างเขาออกแบบและจ้างเขาทำ แต่เป็นการดำเนินงานที่คุณเล็กเข้าไปมีส่วนร่วม อย่างเต็มตัวทั้งในความคิดและการกระทำ เริ่มจากการศึกษาหาข้อมูลในรายละเอียด ทั้งส่วนรูปแบบและความหมายของสถานที่ ที่จะนำมาสร้างเป็นสัญลักษณ์ คุณเล็กและครอบครัวออกเดินทางสำรวจทั่วท้องถิ่นประเทศไทย ร่วมกับเหล่านักวิชาการ และที่ปรึกษา ในวันหยุดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี มีการจดรายละเอียด บันทึก ถ่ายรูปสถานที่จริง เพื่อใช้อ้างอิงในการสร้างอย่างมีเป้าหมาย และเป็นระบบ คุณเล็กเป็นคนชนิดที่จะทำอะไรแล้วต้อง “รู้จริง” ทำให้ได้ลงไปคลุกคลีใน การศึกษาค้นคว้าอย่างเต็มตัว ยิ่งรู้มากขึ้น ความคิด และความเข้าใจในสถานที่ก็เพิ่มมากขึ้น เกิดความซาบซึ้งในคุณค่า และเมื่อได้ออกสำรวจมากขึ้น ได้เห็นความเสื่อมโทรมขาด การดูแลรักษาของโบราณสถานหลายแห่ง จึงได้มีความคิดในการผาติกรรมสถาปัตยกรรม และการเก็บสะสมวัตถุทางชาติพันธุ์ เพื่อจัดทำพิพิธภัณฑ์ภายในเมืองโบราณขึ้นมาเพิ่มขึ้นด้วย จากเป้าหมายในการทำงานที่มากขึ้นและลึกซึ้งขึ้นนี้เอง มิติของเมืองโบราณจึงเปลี่ยนจากสถานที่เที่ยว เพื่อการหย่อนใจ มาเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเพื่อการศึกษาอย่างเต็มตัว
สรรสร้างจากหลักฐาน
สถานที่สำคัญในเมืองโบราณ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้นิยามเมืองโบราณพ้นไปจากคำว่า เมืองจำลองอย่างเต็มตัว คือพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท เพราะเป็นสถานที่ที่มีหลักฐาน เหลือปรากฏน้อยมาก ปัจจุบันที่อยุธยาเหลือเพียงซากฐานอาคาร การสร้างให้สมบูรณ์ จึงมีความยากลำบาก และท้าทายในการศึกษาค้นคว้า เพราะต้องอาศัยจินตนาการในการสร้างสรรค์สูง และยังต้องค้นคว้าหาหลักฐานอ้างอิงอย่างละเอียด รอบคอบ นายเล็กถกเถียง กับนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในด้านรูปแบบ และเนื้อหาความหมายอย่างลุ่มลึก และได้คุมการออกแบบ และก่อสร้างด้วยตนเอง ที่สำคัญทั้งครอบครัวต่างก็มีส่วนร่วมในการสร้างปราสาทหลังนี้ ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ให้ใช้เป็นสถานที่รับรองการเสด็จเยือนประเทศไทย ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบทที่ ๒ ของอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕
การสร้างสถานที่นี้ทำให้คุณเล็กได้สั่งสมพัฒนาการในการศึกษา จัดการ วิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด และได้เข้าใจถึงองค์ประกอบ เทคนิคการสำรวจ และการก่อสร้างสถาปัตยกรรมไทยขนาดใหญ่
วิจิตรศิลปกรรม
การสร้างหอพระแก้วและพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นอีกจุดหนึ่งของพัฒนาการทางความคิด และทักษะเชิงศิลปกรรมของคุณเล็ก หอพระแก้วเป็นการสร้างโดยอิง รูปแบบอาคารที่ปรากฎ ในภาพสลัก บนตู้พระธรรมสมัยอยุธยาตอนปลายที่ตั้งแสดงไว้ ณ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ ซึ่งคุณเล็กให้ช่างชาวเซี่ยงไฮ้มาถ่ายแบบสร้างไว้ การสร้างอาคารนี้ขึ้นมาคือ การทำให้สิ่งที่อยู่ในภาพแกะสลัก กลายเป็นสิ่งก่อสร้างจริง ซึ่งเป็นการทำงานที่ยากทั้ง การออกแบบโครงสร้าง ซึ่งเป็นหอสูงแบบจีนและการตกแต่งภายใน โดยเฉพาะการให้สีที่จะทำให้ กลมกลืน คุณเล็กใช้เวลาคิดพิจารณาอยู่นานกว่างานจะสำเร็จลงตัว
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของกรุงรัตนโกสินทร์ ความยากใน การสร้างพระที่นั่งดุสิตฯ ที่แม้จะมีองค์จริงให้ศึกษาแต่ก็มีการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างภายในเรื่อยมา คุณเล็กเลือกที่จะสร้างพระที่นั่งในรูปแบบสมัยที่ยังมีสาหาน ส่วนการตกแต่งภายใน เช่น ภาพฝาผนัง และลวดลายโครงสร้างภายในของยอดปราสาทนั้น ต้องการแสดงให้เห็นถึงความวิจิตรพิสดาร ของศิลปะสถาปัตยกรรมไทย อย่างครบถ้วน เพื่อให้คนที่มาชมได้เรียนรู้ จึงต้องใช้เวลาใน การออกแบบ เลือกสรรรายละเอียดงานฝีมือเป็นเวลานาน จากผลงานทั้งสองแห่งนี้ คุณเล็กได้พัฒนาทักษะการประยุกต์ และทำความเข้าใจในองค์ประกอบสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมอย่างลึกซึ้ง ทั้งในด้านรายละเอียด รูปแบบและสี ทำให้ในระยะต่อมาคุณเล็กเข้าใจ และควบคุมศิลปกรรมโบราณได้อย่างเชี่ยวชาญ
สถาปัตย์รังสรรค์
พื้นที่ส่วนปลายนาในเมืองโบราณ เป็นสถานที่ส่วนล่าสุดในเมืองโบราณ ที่สร้างขึ้นในช่วงปลายชีวิต ของคุณเล็ก เป็นบริเวณที่คุณเล็กได้ใช้จินตนาการของตนสร้างสถาปัตยกรรม และประติมากรรม ที่มีลักษณะผสมผสานกับหลักความเชื่อทางศาสนา และปรัชญาตะวันออก เช่น เขาพระสุเมรุ มณฑปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศาลาพระอรหันต์เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เป็น สิ่งเสริมสร้างทางการศึกษา ในทางวรรณคดีและศาสนา
งานรังสรรค์ในส่วนปลายนานี้ ทำให้คุณเล็กได้นำแก่นความคิดของสถาปัตยกรรม มาพัฒนาจนก้าว พ้นไปจากแบบแผนเดิม เป็นการประมวลความรู้ด้านศิลปะ และสถาปัตยกรรมทั้งหมดที่สั่งสมมา มาออกแบบสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม และประติมากรรมตามความคิดและจินตนาการของตนเอง ได้อย่างเต็มที่ บนพื้นฐานของคติความเชื่อแบบโบราณ
รูปธรรมแห่งปรัชญา
ตลอดมาจนถึงช่วงปลายของชีวิต คุณเล็กยังคงต่อยอดแนวคิด สร้างสรรค์ผลงานต่อไปเรื่อย ๆ ภายในเมืองโบราณ รวมถึงปราสาทไม้ที่พัทยา และพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตราบจนสิ้นอายุขัยเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2543
สืบสานจิตสำนึกไทย
โดยในทุกผลงานที่ผ่านมาทั้งหมด คงแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน ถึงพัฒนาการด้านแนวคิดของคุณเล็ก ที่ปรับเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา แต่จุดยืนของคุณเล็กที่ยืนหยัดแนวคิดหลัก ที่จะเชิดชูคุณค่าวัฒนธรรม ตะวันออก ต้านกระแสตะวันตกนิยมเพื่อรักษาดุลยภาพทางสังคม และวัฒนธรรมจวบตลอดจนชีวิต ของท่านนั้น ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ทุกวันนี้แม้จะสิ้นคุณเล็กไปแล้ว แต่เมืองโบราณยังคงตั้งอยู่ โดยยึดถือเจตนารมณ์เดิมของคุณเล็ก ที่ต้องการให้เมืองโบราณเป็น สถานที่เพื่อการศึกษา ของคนรุ่นต่อไปที่จะได้รู้จักตัวเอง เห็นคุณค่า และภูมิใจในรากเหง้าทางวัฒนธรรมของบ้านเมืองสืบต่อไป

���  �����оѹ�����оѲ�ҡ�âͧ���ͧ��ҳ